คุณสมบัติ
ผิวหน้ามีความทนทานต่อรอยขูดขีด
ผิวหน้าไม่ทำให้ลื่นล้ม
มีหลายสีให้เลือก ตามความชอบส่วนบุคคล
สามารถทนความร้อนได้ในระดับหนึ่ง ทนต่อสารเคมี และไม่ติดไฟ
พื้นไม่เก็บฝุ่นและเชื้อโรค ต่างจากพรม และกระเบื้อง
ทำความสะอาดได้ง่าย
เหมาะกับการใช้งานในร่ม ที่อยู่อาศัย ร้านค้า ห้องประชุม ทั้งนี้ควรเลือกรุ่นความแข็งแรงให้เหมาะสม
ความแข็งแกร่ง
ความเชื่อที่ว่า พื้นไม้ลามิเนต ยิ่งหนา ยิ่งแข็งแรงนั้นไม่ถูกต้องนัก โดยแท้จริงแล้วสามารถเทียบได้ดังนี้
ความหนาแน่นที่แกนกลาง แกนกลาง HDF ที่มีความหนาแน่นสูง จะทำให้สามารถรับแรงกระแทกได้ดี และการขยายตัวจากความชื้นน้อยลง สามารถเทียบความหนาแน่นได้โดยนำตัวอย่างที่ตัดแล้ว มาสังเกตเนื้อที่แกนกลางด้วยตาเปล่า
ค่า AC (Abrasion Classification) ข้อกำหนดการสึกถลอกของผิวหน้าพื้นไม้ลามิเนต ตามมาตรฐาน EN13329 มีค่าตั้งแต่ AC1 – AC5 โดยค่ายิ่งมากยิ่งแสดงถึงความคงทนมาก
ค่า IC (Impact Classification) ข้อกำหนดการทนแรงกระแทกลงบนผิวหน้าพื้นไม้ลามิเนต ตามมาตรฐาน EN13329 มีค่าตั้งแต่ IC1 – IC3 โดยค่ายิ่งมากยิ่งแสดงถึงความคงทนมาก
มาตรฐานการรับรองสากล
เป็นสัญลักษณ์ที่บอกถึงการรับประกันคุณภาพของตัวพื้นไม้ที่เป็นสากลทั่วโลก ส่วนใหญ่มาจากสถาบันในยุโรป
EPLF[1] เป็นสมาคมพื้นไม้ลามิเนตแห่งสหภาพยุโรป มีหน้าที่ในการส่งเสริม ประชาสัมพันธ์ และสร้างมาตรฐานสำหรับพื้นไม้ลามิเนต ผู้ที่เป็นสมาชิกสมาคมได้ต้องเป็นผู้ผลิตพื้นไม้ผู้มีคุณภาพ และมาตรฐานสูง เพราะเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการกำหนดมาตรฐานพื้นไม้ลามิเนตของโลก
NALFA[2] เป็นสมาคมพื้นไม้ลามิเนตในทวีปอเมริกาเหนือ ก่อตั้งภายหลัง EPLF เป็นการรวมกลุ่มของผู้ผลิตในทวีปดังกล่าว
CELQ[3] เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงผู้ผลิตพื้นไม้ลามิเนตที่มีคุณภาพสูงมาก โดยเป็นสัญลักษณ์ที่มาแทน RAL เดิม โรงงานที่ได้สิทธิ์ประดับสัญลักษณ์นี้ต้องผ่านการตรวจสอบอย่างเข้มงวดจากสถาบันตรวจสอบอิสระ และต้องเป็นสมาชิกของ EPLF มาก่อนเท่านั้น
E1 เป็นค่าการทดสอบการแพร่ของฟลอมาดีไฮด์ (Formaldehyde Emission) ที่แกนกลาง สารฟลอมาดีไฮด์ (สารประกอบฟลอมารีน) เป็นสารก่อมะเร็ง มีโทษเมื่อได้รับเข้าไปในปริมาณที่เกินจำกัด พื้นไม้ลามิเนต E1 บอกถึงพื้นที่ไม่มีการสะสมของฟลอมารีนในปริมาณที่เป็นอันตราย
PEFC[4] เป็นองค์กรอิสระที่ตรวจสอบการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ ของโรงงานไม้ต่างๆ ว่ามีมาตรฐานการจัดการที่ดีทางด้านสิ่งแวดล้อม การตัดไม้ที่ไม่เกินทั้งปริมาณและขนาด และการปลูกทดแทนให้ต้นไม้ได้เติบโตให้ทันกับปริมาณที่ใช้
Credit
เนื้อหา : https://www.cctgroup.co.th
รูปภาพ : http://applayit.com