การติดตั้งพื้นไม้ Laminate
สิ่งที่ควรรู้ของไม้พื้นลามิเนต
- ไม้พื้นลามิเนต ทนต่อรอยขีดข่วน หรือกระทั่งกรงเล็บของสัตว์เลี้ยง
- ไม้พื้นลามิเนต ทนต่อแรงตกหรือกดกระแทก
- ไม้พื้นลามิเนต ทนความร้อนของก้นบุหรี่ และคราบนิโคตินสามารถเช็ดออกได้โดยง่าย
- ไม้พื้นลามิเนต ไม่เป็นคราบ สามารถเช็ดออกได้
- ไม้พื้นลามิเนต สีและลายไม่ซีดจาง แม้จากการตากโดยตรงก็ตาม
- ไม้พื้นลามิเนต ดูแลรักษาความสะอาดง่าย และทนต่อน้ำยาทำความสะอาดต่างๆ ที่ใช้ภายในบ้าน ไม่สามารถทำให้ผิวหน้าเป็นรอยได้
- ไม้พื้นลามิเนต ปลอดภัยเนื่องจากพื้นไม้ลามิเนตไม่มีขั้นตอนการผลิตที่ต้องใช้สาร Dioxins จึงปลอดภัยต่อสุขภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และด้วยพื้นผิวที่สะอาดถูกสุขอนามัยไม่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ได้
- ไม้พื้นลามิเนต แข็งแรงมาก แม้การเคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์ก็ไม่ทำให้เกิดรอย (สิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องทำเมื่อวางของหนักๆ บนพื้นก็ใช้สักหลาด รองส่วนที่สัมผัสกับพื้นเท่านั้น)
- ไม้พื้นลามิเนต ติดตั้งได้ง่ายและเร็ว สามารถติดตั้งทับบนพื้นเดิมได้ง่าย
การเตรียมพื้นผิวก่อนติดตั้งไม้พื้นลามิเนต
- ตรวจสภาพความเรียบร้อยของพื้นผิวก่อนทำการปู จะต้องเรียบ เสมอกัน แข็งแรงสะอาดปราศจากเม็ดกรวดและได้ระดับ หากระดับเกิน 2 มม. ต่อ 1 ตารางเมตร ต้องปรับระดับก่อน
- ตรวจสอบความสูง-ต่ำ ของพื้น โดยใช้ฆ้อนตอกตะปูที่กลางห้อง แล้วผูกด้วยเชือกวัดระดับดึงให้ตึงแล้ววางทาบกับพื้นในระดับสายตา ให้ทั่วทั้งห้อง ตรวจสอบระดับพื้นผิวสูงต่ำต้องไม่เกิน 2 มิล
- ควรเตรียมพื้นปูนเป็นปูนฉาบเรียบ พื้นต้องแห้งสนิทไม่มีความชื้น หากเป็นพื้นที่เทคอนกรีตใหม่ต้องทิ้งพื้น ไว้อย่างน้อย 20 วัน
- ควรวางระบบกำจัดปลวก
- ตรวจสอบสภาพห้องต้องไม่มีน้ำรั่วซึมบริเวณพื้นและผนังรอบพื้นห้อง
- ถ้าพื้นเดิมเป็นวัสดุหินอ่อน หินแกรนิต กระเบื้อง หินขัด ปาร์เก้ หรือกระเบื้องยาง และยังอยู่ในสภาพดี
ไม่มีการหลุดร่อนหรือมีปัญหา สามารถปูพื้นไม้ลามิเนตทับได้ - เมื่อติดตั้งแล้วควรเข้าอยู่ทันทีหรือภายใน 15 วัน หากไม่สามารถเข้าอยู่ได้ภายใน 15 วัน ควรให้ภายในห้องที่ติดตั้งพื้นไม้ลามิเนต มีอากาศถ่ายเท อาทิเช่น เปิดหน้าต่างอย่างน้อย 8 ชม./วัน หรือเปิดเครื่องปรับอากาศอย่างน้อย 5 ชม./วัน
1. การตรวจสอบสภาพความพร้อมของผิวพื้น โดย
1.1 ให้ทำความสะอาดด้วยการใช้เครื่องดูดฝุ่น อย่าให้มีเม็ดหิน หรือวัสดุใดอยู่บนพื้น
1.2 ถ้าเป็นพื้นผิวปูน ต้องมีลักษณะขัดเรียบ ระดับต่างกันไม่เกิน 5 มม. ถ้าระดับต่างกันมาให้แก้ไขโดยปรับระดับด้วยปูน, เจียร์หรือสกัดส่วนนูนออก, ใช้พื้นสำเร็จรูปจำพวกแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์
1.3 พื้นผิวที่มีวัสดุเดิม เช่น หินขัด, หินอ่อน, กระเบื้องเซรามิค, กระเบื้องยาง, พื้นไม้ปาร์เก้ที่มีลักษณะราบเรียบไม่หลุดร่อน สามารถปูทับได้
1.4 พื้นผิวที่มีวัสดุเดิม แต่มีการหลุดร่อน, ปลวกกิน หรือมีความชื้น ควรรื้อถอนและปรับพื้นผิวปูนก่อน
1.5 ถ้าพื้นเดิมปูพรม ควรรื้อออก, ทำความสะอาดพื้น และตรวจสอบสภาพพื้นก่อนปู
2. การตรวจสอบความชื้นของพื้นที่ปู โดยพื้นห้องควรมีความชื้นไม่เกิน 8% โดยใช้เครื่องวัดความชื้นบริเวณพื้นหน้าที่ปู
2.1กรณีต้องการให้พื้นปูนแห้งเร็ว ควรใช้ Spot-light หรือใช้ปูนฉาบสำเร็จชนิดแห้งเร็ว
2.2 กรณีเทปูนทรายปรับหน้าพื้นคอนกรีต ควรทิ้งช่วงเวลา 3-4 สัปดาห์
3. คำนวณพื้นที่ห้องเพื่อกำหนดการวางแนวในการปูพื้น โดยคำนวณให้เศษเหลือน้อยที่สุด ซึ่งโดยทั่วไปจะกำหนดการปูเป็น 2 รูปแบบคือ
3.1 การปูแบบต่อเนื่องหรือก่ออิฐ การปูลักษณะนี้จะต้องเผื่อไม้พื้นที่ต้องใช้ให้มากกว่าพื้นที่จริง ประมาณ 10%
3.2 การปูแบบต่อเนื่อง การปูลักษณะนี้จะต้องเผื่อไม้พื้นที่ต้องใช้ให้มากกว่าพื้นที่จริงประมาณ 3-5%
3.3 สำหรับการคำนวณพื้นที่ ที่ไม่ใช่รูปทรงสี่เหลี่ยมเช่นวงกลมหรือสามเหลี่ยม พื้นที่ลักษณะดังกล่าวจะใช้ ไม้พื้นมากกว่าพื้นที่จริงประมาณ 30-40%
4. ปูผิวชั้นแรกด้วย P.E โฟม โดยให้ด้านที่เป็นพลาสติกอยู่ด้านล่างสัมผัสพื้นและปิดรอยต่อด้วยเทปกาว ห้ามให้เกยกันเด็ดขาด
5. ตรวจสอบการเปิดปิดประตู เมื่อปูพื้นเสร็จแล้วประตูต้องห่างจากพื้นปูประมาณ 20 มม. (ต้องทำประตูให้เสร็จก่อนปูพื้นเสร็จ)
6. เริ่มต้นปูต้องเริ่มจากซ้ายไปขวา การประกอบแผ่นที่ 2 เข้ากับแผ่นแรก โดยเอียงประมาณ 45 องศา แล้วกดลงเพื่อให้ไม้เข้าล๊อค
7. การปูต้องต่อพื้น 2 แถวแรกให้เป็นเส้นตรง และแถวที่1และ แถวที่2 ต้องเหลื่อมกันอย่างน้อย 30 ซม.สลับกันไปโดยตลอด สำหรับบริเวณขอบผนัง ควรใช้ตัวกั้นที่มีความหนา 10-15 มม. กั้นระหว่างพื้นไม้กับผนัง เพื่อเว้นระยะให้ไม้ขยายตัว
8. การปูต้องต่อพื้น 2 แถวแรกให้เป็นเส้นตรง และแถวที่1และ แถวที่2 ต้องเหลื่อมกันอย่างน้อย 30 ซม.สลับกันไปโดยตลอด สำหรับบริเวณขอบผนังควรใช้ตัวกั้นที่มีความหนา 10-15 มม. กั้นระหว่างพื้นไม้กับผนัง เพื่อเว้นระยะให้ไม้ขยายตัว
9. กรณีผนังที่เอียงมาก ให้เว้นห่างจากผนังโดยจุดที่แคบที่สุดต้องมีระยะห่างจากผนัง 30 มม. และจุดที่กว้างสุดต้องไม่เกิน 18.5 มม.
10. การต่อไม้พื้น ให้ต่อชนชิดด้านหัวก่อน เมื่อต่อเสร็จทุกแถว ต้องใส่ตัวกั้นที่มีความหนา 10-15 มม. กั้นให้แน่นทุกแถวเพื่อกันการขยับตัวหนีและเว้นระยะให้ไม้พื้นขยาย ตัว
11. ปูพื้นต่อไปจนสุดห้อง แถวสุดท้ายให้วัดระยะห่างถึงผนัง มีระยะเท่าไรลบออก 10 มม. แล้วตัดขนาดใส่จนเต็มพื้นที่ พร้อมใส่ตัวกั้นให้ครบทุกจุด
12. การติดบัวผนัง ตัวจบ ธรณีประตู สามารถใช้ได้ทั้งแบบใช้อุปกรณ์ โดยใช้แม๊กซ์ยิงปูน หรือการใช้กาวยางสังเคราะห์อเนกประสงค์แรงยึดสูง
12.1 ความยาวบัวผนังที่ใช้ ให้วัดทุกด้านของห้อง รวมทั้งขอบของเสา
12.2 ตัวจบต่างระดับ,ตัวจบระดับเดียวกัน, ตัวจบธรณีประตู ให้วัดตามความยาวจริงของพื้นที่ที่ติดตั้ง
13. การใช้กาวยางสังเคราะห์อเนกประสงค์แรงยึดสูง สามารถยึดติดกับวัสดุต่างๆ เช่น คอนกรีต อลูมิเนียม กระจก หินอ่อน หรือวัสด ุที่มีผิวเรียบมัน
13.1สามารถใช้กาวร้อนช่วยยึดให้บัวและผนังยึดติดกันเร็วขึ้น
14.ใช้ซิลิโคนชนิดใส ระขอบบัวด้านล่างกับพื้นให้ใช้เฉพาะตำแหน่งที่มีความห่างกันมากหรือบริเวณหน้าห้องน้ำ ห้ามยาซิลิโคนตลอดแนว เพื่อที่ด้านใต้ของพื้นสามารถมีการถ่ายเทอากาศได้
15. ใช้ซิลิโคนชนิดสีขาว ระหว่างขอบบัวด้านบนกับผนัง เฉพาะจุดที่มีความห่างเท่านั้น
16. ใช้ซิลิโคน(ชนิด Gap Filler) ผสมสีฝุ่นสำหรับอุดและโป๊วพื้น ธรณี หรือจุดที่มีความห่าง
Credit
เนื้อหา : http://www.infinitefloor.net/set%20up%20laminate.html
รูปภาพ : http://www.kswood.com , http://polyurethanesportsfloors.blogspot.com/